นักวิเคราะห์ระบบพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร
1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection)
เนื่องจากในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีสภาวะแข่งขันของธุรกิจค่อนข้างสูงจึงทำให้องค์กรจำเป็นต้องหากลยุทธ์ทางการแข่งขันเพื่อเพิ่มความได้เปรียบต่อคู่แข่งขันและแย่งส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากขึ้นอันจะนำไปสู่ผลกำไรที่มากขึ้นซึ่งกลยุทธ์การแข่งขันดังกล่าวอาจจะเป็นการพัฒนาระบบงานที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันหรือพัฒนาระบบใหม่
แต่จะมีระบบงานใดบ้างนั้นจะต้องค้นหาจากผู้ที่ปฏิบติงานกับระบบงานจริงโครงการที่รวบรวมมาได้อาจมีหลายโครงการ
แต่อาจ
ดำเนินการพร้อมกันหมดไม่ได้
เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการดำเนินการดังนั้นจำเป็นต้องมีการเลือกสรรโครงการที่เหมาะสมและให้ผลประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน
2. เริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning)
รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นจัดทำโครงการที่ได้รับอนุมัติ
โดยเริ่มจากการจัดตั้งทีมงานเพื่อเตรียมการดำเนินงานจากนั้นทีมงานดังกล่าวร่วมกันค้นหาสร้างแนวทางและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
เมื่อได้ทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว ทีมงานจึงเริ่มวางแผนดำเนินงานโครงการ
โดยศึกษาความเป็นไปได้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานแต่ละขั้นตอนและกิจกรรม
เพื่อนำเสนอต่อผูบริหารพิจารณาอนุมติให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
3. วิเคราะห์ระบบ (System
Analysis)
ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานของระบบเดิมเพื่อหาปัญหาที่เกิ ดขึ้น
รวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบแล้วนำความต้องการเหล่านั้นมาศึกษาและวิเคราะห์เพื่
อแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการใช้แบบจำลองต่างๆ ช่วยในการวิเคราะห์
4. ออกแบบเชิงตรรกะ (Logical
Design)
เป็นขั้นตอนการออกแบบลักษณะการทำงานของระบบตามทางเลือกที่ได้ทำการเลื อกไว้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยการออกแบบในเชิ
งตรรกะนั้นยังไม่ได้มีการระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เพียงแต่กำหนดถึงลักษณะของรูปแบบรายงานที่เกิดจากการทำงานของระบบ
ลักษณะของการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ
5. ออกแบบเชิงกายภาพ (Physical
Design)
ระบุถึงลักษณะการทำงานของระบบทางกายภาพหรือทางเทคนิค โดยระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เทคโนโลยีโปรแกรมภาษาที่จะนำมาใช้เขียนโปรแกรมฐานข้อมูลระบบปฏิบติการและระบบเครือข่ายที่เหมาะสมสิ่งที่ได้จากขั้นตอนนี้ก็คือเอกสารจองการออกแบบซึ่งโปรแกรมเมอร์จะนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมต่อไป
6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System
Implementation)
เป็นการนำระบบที่ออกแบบแล้วมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะและรูปแบบต่างๆที่ได้กำหนดไว้หลังจากเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้วนักวิเคราะห์จะต้องทำการทดสอบโปรแกรม
ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาและสุดท้ายคือการติดตั้งระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใหม่หรือเป็นการพัฒนาระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว
โดยทำการติดตั้งตัวโปรแกรมติดตั้ง อุปกรณ์ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือ
และจัดเตรียมหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง
7. ซ่อมบำรุงระบบ (System
Maintenance)
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรพัฒนาระบบ (SDLC) หลังจากระบบใหม่ได้เริ่มดำเนินการผู้ใช้ระบบอาจจะพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่และอาจค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้เองดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะต้องคอยแก้ไขและเปลี่ยนแปลงระบบที่พัฒนาขึ้นมาจนกว่าจะเป็นที่พอใจของผู้ใช้ระบบมากที่สุดปัญหาที่ผู้ใช้ระบบค้นพบระหว่างการดำเนินงานนั้นเป็นผลดีในการทำให้ระบบให้มีมีประสิทธิภาพมากยิงขึ้น
เนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่สัมผัสกับการทำงานกับระบบงานจริงทุกวันซึ่งสามารถให้คำตอบได้ว่าระบบที่พัฒนามานั้นตรงต่อความต้องการหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น