วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ


หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ

         1. รวบรวมข้อมูล
             รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและนำไปใช้เป็นข้อมูลส่ วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่ ทั้งนี้อาจจะนำแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรายระเอียดต่างๆ จากผู้ใช้ระบบเพราะผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด
         2. จัดทำเอกสาร
             ระหว่างทำการพัฒนาระบบนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียดและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอเพื่อความคล่องตัวหากมีการเปลี่ยนแปลงทีมงานในระหว่างการพัฒนาระบบ
         3. จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
             รวบรวมข้อมูลเอกสารทั้งหมดและอธิบายถึงเอกสารต่างๆ ที่ต้องมีการใช้งานในระบบพจนานุกรมข้อมูลจัดเป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจาเป็นต้องใช้ในการติดต่อประสานงานกับโปรแกรมเมอร์และเจ้าของระบบ
         4. ออกแบบระบบ
             นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบและมีความเหมาะสมมากที่สุดรวมทั้งออกแบบลักษณะการติดต่อของโปรแกรมกับผูใช้งานฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำมาใช้ในระบบกำหนดลักษณะของเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของระบบรวมไปถึงการประมาณการค่าใช้จ่ายต่างๆในส่วนที่จะเกิดขึ้น
         5. สร้างแบบจำลอง
             ทำการสร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอแก่เจ้าของระบบและผู้ใช้งาน ในบางองค์กรหน้าที่การสร้างแบบจำลองจะเป็นของโปรแกรมเมอร์
         6. ทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
             นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้ทดสอบโปรแกรมเองแต่หากมอบหมายให้ผู้ใช้ระบบเป็นผู้ทดสอบจะมีผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจระบบงานอย่างแท้จริงจึงสามารถบอกได้ว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานั้นทำงานได้สอดคล้องกับการทำงาน
จริงมากน้อยเพียงใด
         7. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ
             การติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบเดิ มเป็นระบบใหม่ซึ่งสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น ติ ดตั้งทั้งหมดทันทีติดตั้งเป็นบางส่วนก่อนหรือติดตั้งระบบใหม่ควบคู่ไปกับการทำงานของระบบเก่า เป็ นต้น
         8. จัดทำคู่มือ
             จัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานลักษณะของโปรแกรมที่ใช้งานก็เปลี่ยนแปลงไปการที่ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจและรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขั้นได้อย่างรวดเร็วก็คือการได้รับการฝึ กอบรมอย่างถูกต้อง
         9. จัดทำแบบสอบถาม
             จัดทำแบบสอบถามถึงผลการดำเนินงานของระบบใหม่ที่ติดตั้งไปแล้วในรูปแบบของรายงานผลการใช้งาน (Feedback) เพราะจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบทราบว่าผลของการติดตั้งระบบใหม่เป็นอย่างไร้และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นตามมาบ้างเพื่อจะได้นำปัญหาเหล่านั้นมาทำการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้เป็นระบบที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้ในที่สุด
         10. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ
               เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิ ดขึ้นรวมทั้งเป็นการปรับปรุง ดัดแปลง หรือแก้ไข ทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้ระบบมีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุด นอกจากนั้นยังทำให้สามารถประเมินผลการปฏิบติงานของระบบใหม่ได้อีกด้วย
         11. เป็นผู้ให้คำปรึกษา
              คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนในระบบ (Consulting) ภายหลังการติดตั้งระบบแล้ว การใช้งานอาจเกิดข้อสงสัยหรือข้อผิดพลาดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องคอยให้คำปรึ กษาไม่วาจะเป็นทางด้านการใช้โปรแกรมหรือทางด้านเทคนิคก็ตาม
         12. เป็นผู้ประสานงาน
ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ (Coordinator) เพื่อให้เข้าใจในเหตุการณ์หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรได้ถูกต้องตรงกันที่สุด
         13. เป็นผู้แก้ไขปัญหา
               ในที่นี้จะเป็นผู้ที่นำแนวคิดของคำว่า " ระบบ " มาใช้ในการแก้ปัญหาทั้งการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรและแก้ปัญหาด้านระบบสารสนเทศด้วยโดยการเปรียบเทียบในลักษณะของงานทางธุรกิจคือระบบซึ่งจะต้องกำหนดของเขตของระบบผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบพิจารณาว่าข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบนั้นเกิดจากบุคคลฝ่ายใดหรือเกิดจากขั้นตอนการทำงานขั้นตอนใด เพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นสามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจนภายในขอบเขตของระบบนั้น
         14. เป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
                นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่สามารถแสดงให้ทุกคนเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงจากระบบเก่าเป็นระบบใหม่ได้
         15. เป็นผู้เตรียมข้อมูลให้กับองค์กร
                เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบแล้วนักวิเ คราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการแข่งขันหรือการหาตลาดใหม่ขององค์กรได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์หน้าที่ต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องปฏิบติด้วยความเต็มใจและอดทนและคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบก่อนเสมอทั้งในระหว่างการพัฒนาและความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น