วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุป

                                                  

                                                                สรุป

        นักวิเคราะห์ระบบ( System Analyst ) เป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างบทบาทสารสนเทศกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของระบบ (System Owners) ผู้ใช้ระบบ (System User) และผู้สร้างระบบ (System Builders) โดยมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ 1) วิเคราะห์ระบบ      ( System Analyst ) เป็นการศึกษาระบบวิเคราะห์ และแยกแยะถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขตามความต้องการของผู้ใช้งานและความเหมาะสมต่อสถานะทางการเงินขององค์กร 2) ออกแบบระบบ (System Design) เป็นวิธีการออกแบบ และกาหนดคุณสมบัติทางเทคนิคโดยนาระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาที่ได้ทาการวิเคราะห์มาแล้ว นอกจากจะเป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรแล้ว นักวิเคราะห์ระบบยังจะต้องสามารถช่วยแก้ปัญหาทางกระบวนการดาเนินงานทางธุรกิจขององค์กรนั้นได้ด้วย กล่าวคือจะต้องมีความชานาญในการกาหนดขอบเขต แยกแยะปัญหาทางธุรกิจ และระบุถึงความต้องการของระบบเพื่อนาไปสู่การพัฒนาระบบสารสนเทศ หน้าที่อื่นๆ ของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ในการพัฒนาระบบนอกเหนือจากหน้าที่หลัก ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล จัดทาเอกสาร จัดทาพจนานุกรมข้อมูล ออกแบบระบบ สร้างแบบจาลอง ทดสอบโปรแกรม ติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบ จัดทาคู่มือใช้งานโปรแกรม จัดทาแบบสอบถาม บารุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นผู้ให้คาปรึกษาและเป็นผู้ประสานงาน เป็นต้น ส่วนคุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่มีหลายประการได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความชานาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ การเงิน และการตลาดเป็นอย่างดี ต้องเป็นนักสารวจ มีจรรยาบรรณต่อองค์กร สามารถทางานเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดี มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการนาเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร ทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ สามารถทางานภายใต้ภาวะความกดดัน และเป็นนักจิตวิทยาเบื้องต้นได้
        นักวิเคราะห์ระบบพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยการเลือกใช้แนวทางปฏิบัติ (Methodologies) ที่มีอยู่มากมายเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาในวงจรการพัฒนาระบบ(System Develovment Life Cycle: SDLC) ให้เหมาะกับระยะเวลาและต้นทุนที่กาหนดไว้จากโครงสร้างขององค์กรแบบดั้งเดิมนั้น นักวิเคราะห์ระบบถูกจัดให้ทางานประจาอยู่ในทีมงานสารสนเทศแต่ละด้าน โดยการทางานของแต่ละทีมจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer: CIO) เท่านั้น ทาให้ไม่สามารถทางานใกล้ชิดกับผู้ใช้ระบบในส่วนงานอื่น ๆ ได้ แตกต่างจากองค์กรสมัยใหม่ ที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยบริการสารสนเทศ ให้นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ กระจายอยู่ในส่วนงานอื่นๆ ของทั้งหมดองค์กรทาให้สามารถทางานใกล้ชิดกับผู้ใช้ระบบมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และป้องกันการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการพัฒนาระบบใหม่อีกด้วย
        ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ต้องมีการปรับปรุงตัวอยู่ตลอดเวลา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ External Third Party และการพัฒนาการขององค์กร โดยที่ External Third Party คือ กลุ่มองค์กรที่ดาเนินธุรกิจรับพัฒนาระบบ ยกตัวอย่างเช่น แหล่งข้อมูลภายนอก (Outsoucing)ที่ปรึกษา(Consulting)และผู้จัดเตรียมโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแก้ปัญหา (Application Software Solution Providers) เป็นต้น ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการขององค์กร ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารคุณภาพรวม (Total Quality Management: TQM) BPR (Business Process Redesign) CPI (Continuous Process Improvement) และ ISO (International Standard Organization) สาหรับผู้อ่านที่สนใจในอาชีพนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีการเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ต้องมีการเตรียมความรู้ทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศ มีประสบการณ์และความชานาญในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความรู้ทั่วไปในด้านธุรกิจ มีทักษะในการแก้ปัญหา มีมนุษย์สัมพันธ์และทักษะในการติดต่อในการติดต่อสื่อสาร รู้จักยืดหยุ่นและปรับตัวได้ มีจริยธรรม มีทักษะในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ และเมื่อมองถึงโอกาสในอาชีพนักวิเคราะห์ระบบแล้วสามารถก้าวขึ้นไปสู่ตาแหน่งผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ได้หากนักวิเคราะห์ระบบสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์และพัฒนาความสามารถในการทางานอย่างเสมอ

โอกาสในอาชีพนักวิเคราะห์ระบบ

โอกาสในอาชีพนักวิเคราะห์ระบบ

        ก้าวมาสู่อาชีพนักวิเคราะห์ระบบถือได้ว่าเข้ามาสู่วงการของการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งการทำงานอย่างเต็มความสามารถ และการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำงาน พัฒนาความสามารถในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สามารถเลื่อนตำแหน่งจาก นักวิเคราะห์ระบบ หรือ โปรแกรมเมอร์ ไปยังลำดับที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต ดังเช่นตัวอย่างของตำแหน่งที่พัฒนาจากนักวิเคราะห์ระบบ อันได้แก่
        1. นักวิเคราะห์ระบบ
        2. นักวิเคราะห์ระบบอาวุโส
        3. ผู้บริหารจัดการฐานข้อมูล
        4. ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์
        5. วิทยากรฝึกอบรม
        6. ผู้บริหารโครงการ
        7. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ
        8. ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค
        9. นักวิเคราะห์ระบบอาวุโสด้านเทคนิค
      10. ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง

ทิศทางสู่อนาคตของนักวิเคราะห์ระบบ


ทิศทางสู่อนาคตของนักวิเคราะห์ระบบ

        จากอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ เช่น แหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร( Outsourcing)โปรแกรมประยุกต์สาเร็จรูป  
 ( Application software Package)หรือไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการจัดการคุณภาพภายในองค์กรและการเปลี่ยนแปลงทางการดำเนินงานทางธุรกิจล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ผู้ประกอบอาชีพนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป การที่มีแหล่งข้อมูลภายนอกองค์กรนั้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักวิเคราะห์ระบบไม่จากัดการทำงานอยู่เพียงแค่ภายในองค์กรที่ต้องการพัฒนาระบบ แต่สามารถเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ทำงานให้กลุ่มบุคคลที่รับพัฒนาระบบให้กับองค์กรต่างๆจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบได้มีโอกาสศึกษาและเข้าไปมีส่วนในการแก้ไขปัญหาระบบงานต่างๆ ของลูกค้า ที่ดำเนินธุรกิจแตกต่างๆกันไป ทำให้นักวิเคราะห์ระบบในกลุ่มนี้ สามารถเข้าใจในระบบธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจในยุคต่อไป ที่เน้น ในเรื่องของการจัดการคุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อได้เปรียบที่ทาให้เหนือกว่าคู่แข่ง
        ด้วยการทำงานที่สืบเนื่องจากต้องมีความเข้าใจในระบบที่นักวิเคราะห์จะต้องพัฒนาอย่างแท้จริง ทำให้นักวิเคราะห์ระบบอาจมีความได้เปรียบอาชีพอื่นๆที่จะผันตัวเองไปสู่หน้าที่การงานที่มีความสาคัญมากขึ้น เช่น เป็นผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิคเป็นผู้บริหารโครงการ ทั้งยังอาจมีส่วนอย่างมากในการช่วยให้ธุรกิจนั้นมีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้น เพิ่มกลุ่มลูกค้า และมีกลยุทธ์ในการดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ เพราะนักวิเคราะห์ระบบทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้ระบบ จึงสามารถเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากลูกค้า และเป็นผู้วิเคราะห์ถึงปัญหานั้นอย่างละเอียด จึงสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบและเชื่อมโยงไปถึงความต้องการของลูกค้าได้ด้วย เพราะไม่ว่าธุรกิจใดๆก็ตามต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ


การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ

        1. มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มากเพียงพอที่จะทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบได้ เช่น ต้องรู้ว่าธุรกิจแห่งนั้นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ระบบอะไร ซึ่งเหมาะสมกับระบบธุรกิจนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมควรจะแนะนำให้ใช้ระบบอะไรแทนหรือถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมไปใช้ระบบใหม่ ต้องออกแบบระบบใหม่ให้ใช้ได้อย่างถูกต้องตามความต้องการและความเหมาะสมของผู้ใช้ระบบ เป็นต้น
        2. เป็นผู้มีความรู้ทางด้านธุรกิจแขนงต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้สำหรับการบริหารองค์กร เช่น ความรู้ทางด้านการบริหารทั่วไป, ความรู้สำหรับใช้ในการตัดสินใจ ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ, ความรู้ทางด้านระบบบัญชีและการวิเคราะห์ทางการเงิน
        3. เป็นผู้ที่มีความรอบรู้และประสบการณ์ทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบเป็นอย่างดี
        4. ความสามารถในการแก้ปัญหาและหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหาในแง่ของการหาเหตุและผลอย่างมีขั้นตอน และรู้จักใช้ความสามารถของตนเพื่อหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
        5. มีมนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
        6. ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม นักวิเคราะห์ระบบควรจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะการทำงานแต่กับฝ่ายของตนเองหรือกับโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หากแต่จะต้องทำตัวเองให้เป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบได้อีกด้วย
        7. ประสบการณ์เก่า ซึ่งไม่สามารถจะหลีกหนีความเป็นจริงไปได้ ว่าประสบการณ์มีความสาคัญต่อทุกสาขาอาชีพ นักวิเคราะห์ระบบก็เช่นเดียวกัน ประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาในระหว่างปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนาระบบ จะเป็นการส่งเสริมให้ตัวนักวิเคราะห์ระบบก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ

นักวิเคราะห์ระบบอยู่ในส่วนใดขององค์กร


นักวิเคราะห์ระบบอยู่ในส่วนใดขององค์กร
        1. หน่วยแผนงานสารสนเทศ (Information Syrategy Planning) 
             รับผิดชอบในการวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศด้วยการกำหนดทิศทางและลำดับความสาคัญของการให้บริการสารสนเทศกับส่วนงานทั้งหมดขององค์กรโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจหลัก วิสัยทัศน์ และเป้าหมายขององค์กรเป็นหลักการวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศนั้นมีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถค้นหาและเลือกสรรโครงการพัฒนาระบบที่เหมาะสมที่สุดได้หน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนนั้นต้องการนักวิเคราะห์ระบบที่มีความชำนาญสูงเป็นพิเศษทั้งนี้เพื่อการวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง
          2. หน่วยสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Architecture) 
            รับผิดชอบในส่วนของสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการเตรียมรายละเอียดโดยสังเขปของเทคโนโลยีต่างๆเพื่อนำเสนอต่อส่วนงานทั้งหมดขององค์กรเพื่อพิจารณายอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะแก่การนำมาใช้สนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิงขึ้น
        3. หน่วยส่งเสริมการพัฒนาสารสนเทศ (Cross-functional Systems and Applications Development)
        รับผิดชอบในการเป็นศูนย์กลางเพื่อการพัฒนาและสนับสนุนการใช้สารสนเทศร่วมกันและการใช้โปรแกรมเดียวกันในงานทางธุรกิจด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการเงิน การตลาด และการผลิต
         4. หน่วยผู้เชี่ยวชาญ/นักวิชาการ (Information Technology Competency Centers) 
            รับผิดชอบในการเป็นศูนย์กลางของผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น ด้านการบริหารโครงการ การบริหารข้อมูลและออกแบบฐานข้อมูล ด้านระบบเครือข่ายและโทรคมนาคม เป็นต้น เพื่อรองรับโครงการพัฒนาระบบต่างๆขององค์กร
         5. หน่วยบริการสารสนเทศ (Department Computing Coordination ) 
            รับผิดชอบในการให้คำปรึ กษาและการจัดการที่มีคุณภาพให้กับนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ที่กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ขององค์กร หน้าที่รับผิดชอบในส่วนนี้ต้องการนักวิเคราะห์ระบบระดับอาวุโสที่มีประสบการณ์สูงเพื่อช่ วยในการจัดตั้งมาตรฐานกำหนดแนวทาเตรียมการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษาแก่ทีมงานต่างๆ ของแต่ละโครงการในองค์กร

นักวิเคราะห์ระบบพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร


นักวิเคราะห์ระบบพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร

        1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection)
            เนื่องจากในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีสภาวะแข่งขันของธุรกิจค่อนข้างสูงจึงทำให้องค์กรจำเป็นต้องหากลยุทธ์ทางการแข่งขันเพื่อเพิ่มความได้เปรียบต่อคู่แข่งขันและแย่งส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากขึ้นอันจะนำไปสู่ผลกำไรที่มากขึ้นซึ่งกลยุทธ์การแข่งขันดังกล่าวอาจจะเป็นการพัฒนาระบบงานที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันหรือพัฒนาระบบใหม่ แต่จะมีระบบงานใดบ้างนั้นจะต้องค้นหาจากผู้ที่ปฏิบติงานกับระบบงานจริงโครงการที่รวบรวมมาได้อาจมีหลายโครงการ แต่อาจ
ดำเนินการพร้อมกันหมดไม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการดำเนินการดังนั้นจำเป็นต้องมีการเลือกสรรโครงการที่เหมาะสมและให้ผลประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน
         2. เริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning)
            รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นจัดทำโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยเริ่มจากการจัดตั้งทีมงานเพื่อเตรียมการดำเนินงานจากนั้นทีมงานดังกล่าวร่วมกันค้นหาสร้างแนวทางและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการนำระบบใหม่มาใช้งาน เมื่อได้ทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว ทีมงานจึงเริ่มวางแผนดำเนินงานโครงการ โดยศึกษาความเป็นไปได้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานแต่ละขั้นตอนและกิจกรรม เพื่อนำเสนอต่อผูบริหารพิจารณาอนุมติให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
        3. วิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
            ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานของระบบเดิมเพื่อหาปัญหาที่เกิ ดขึ้น รวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบแล้วนำความต้องการเหล่านั้นมาศึกษาและวิเคราะห์เพื่ อแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการใช้แบบจำลองต่างๆ ช่วยในการวิเคราะห์
        4. ออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)
            เป็นขั้นตอนการออกแบบลักษณะการทำงานของระบบตามทางเลือกที่ได้ทำการเลื อกไว้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยการออกแบบในเชิ งตรรกะนั้นยังไม่ได้มีการระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เพียงแต่กำหนดถึงลักษณะของรูปแบบรายงานที่เกิดจากการทำงานของระบบ ลักษณะของการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ
        5. ออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)
            ระบุถึงลักษณะการทำงานของระบบทางกายภาพหรือทางเทคนิค โดยระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เทคโนโลยีโปรแกรมภาษาที่จะนำมาใช้เขียนโปรแกรมฐานข้อมูลระบบปฏิบติการและระบบเครือข่ายที่เหมาะสมสิ่งที่ได้จากขั้นตอนนี้ก็คือเอกสารจองการออกแบบซึ่งโปรแกรมเมอร์จะนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมต่อไป
        6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
            เป็นการนำระบบที่ออกแบบแล้วมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะและรูปแบบต่างๆที่ได้กำหนดไว้หลังจากเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้วนักวิเคราะห์จะต้องทำการทดสอบโปรแกรม ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาและสุดท้ายคือการติดตั้งระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใหม่หรือเป็นการพัฒนาระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยทำการติดตั้งตัวโปรแกรมติดตั้ง อุปกรณ์ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือ และจัดเตรียมหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง
        7. ซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance)
            เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรพัฒนาระบบ (SDLC) หลังจากระบบใหม่ได้เริ่มดำเนินการผู้ใช้ระบบอาจจะพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่และอาจค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้เองดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะต้องคอยแก้ไขและเปลี่ยนแปลงระบบที่พัฒนาขึ้นมาจนกว่าจะเป็นที่พอใจของผู้ใช้ระบบมากที่สุดปัญหาที่ผู้ใช้ระบบค้นพบระหว่างการดำเนินงานนั้นเป็นผลดีในการทำให้ระบบให้มีมีประสิทธิภาพมากยิงขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่สัมผัสกับการทำงานกับระบบงานจริงทุกวันซึ่งสามารถให้คำตอบได้ว่าระบบที่พัฒนามานั้นตรงต่อความต้องการหรือไม่

หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ


หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ

         1. รวบรวมข้อมูล
             รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและนำไปใช้เป็นข้อมูลส่ วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่ ทั้งนี้อาจจะนำแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ เพื่อเก็บรายระเอียดต่างๆ จากผู้ใช้ระบบเพราะผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด
         2. จัดทำเอกสาร
             ระหว่างทำการพัฒนาระบบนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียดและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอเพื่อความคล่องตัวหากมีการเปลี่ยนแปลงทีมงานในระหว่างการพัฒนาระบบ
         3. จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
             รวบรวมข้อมูลเอกสารทั้งหมดและอธิบายถึงเอกสารต่างๆ ที่ต้องมีการใช้งานในระบบพจนานุกรมข้อมูลจัดเป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจาเป็นต้องใช้ในการติดต่อประสานงานกับโปรแกรมเมอร์และเจ้าของระบบ
         4. ออกแบบระบบ
             นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบและมีความเหมาะสมมากที่สุดรวมทั้งออกแบบลักษณะการติดต่อของโปรแกรมกับผูใช้งานฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำมาใช้ในระบบกำหนดลักษณะของเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของระบบรวมไปถึงการประมาณการค่าใช้จ่ายต่างๆในส่วนที่จะเกิดขึ้น
         5. สร้างแบบจำลอง
             ทำการสร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอแก่เจ้าของระบบและผู้ใช้งาน ในบางองค์กรหน้าที่การสร้างแบบจำลองจะเป็นของโปรแกรมเมอร์
         6. ทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
             นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้ทดสอบโปรแกรมเองแต่หากมอบหมายให้ผู้ใช้ระบบเป็นผู้ทดสอบจะมีผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจระบบงานอย่างแท้จริงจึงสามารถบอกได้ว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานั้นทำงานได้สอดคล้องกับการทำงาน
จริงมากน้อยเพียงใด
         7. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ
             การติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบเดิ มเป็นระบบใหม่ซึ่งสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น ติ ดตั้งทั้งหมดทันทีติดตั้งเป็นบางส่วนก่อนหรือติดตั้งระบบใหม่ควบคู่ไปกับการทำงานของระบบเก่า เป็ นต้น
         8. จัดทำคู่มือ
             จัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานลักษณะของโปรแกรมที่ใช้งานก็เปลี่ยนแปลงไปการที่ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจและรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขั้นได้อย่างรวดเร็วก็คือการได้รับการฝึ กอบรมอย่างถูกต้อง
         9. จัดทำแบบสอบถาม
             จัดทำแบบสอบถามถึงผลการดำเนินงานของระบบใหม่ที่ติดตั้งไปแล้วในรูปแบบของรายงานผลการใช้งาน (Feedback) เพราะจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบทราบว่าผลของการติดตั้งระบบใหม่เป็นอย่างไร้และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นตามมาบ้างเพื่อจะได้นำปัญหาเหล่านั้นมาทำการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้เป็นระบบที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้ในที่สุด
         10. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ
               เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิ ดขึ้นรวมทั้งเป็นการปรับปรุง ดัดแปลง หรือแก้ไข ทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของระบบ เพื่อให้ระบบมีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุด นอกจากนั้นยังทำให้สามารถประเมินผลการปฏิบติงานของระบบใหม่ได้อีกด้วย
         11. เป็นผู้ให้คำปรึกษา
              คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนในระบบ (Consulting) ภายหลังการติดตั้งระบบแล้ว การใช้งานอาจเกิดข้อสงสัยหรือข้อผิดพลาดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องคอยให้คำปรึ กษาไม่วาจะเป็นทางด้านการใช้โปรแกรมหรือทางด้านเทคนิคก็ตาม
         12. เป็นผู้ประสานงาน
ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ (Coordinator) เพื่อให้เข้าใจในเหตุการณ์หรือข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรได้ถูกต้องตรงกันที่สุด
         13. เป็นผู้แก้ไขปัญหา
               ในที่นี้จะเป็นผู้ที่นำแนวคิดของคำว่า " ระบบ " มาใช้ในการแก้ปัญหาทั้งการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรและแก้ปัญหาด้านระบบสารสนเทศด้วยโดยการเปรียบเทียบในลักษณะของงานทางธุรกิจคือระบบซึ่งจะต้องกำหนดของเขตของระบบผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบพิจารณาว่าข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบนั้นเกิดจากบุคคลฝ่ายใดหรือเกิดจากขั้นตอนการทำงานขั้นตอนใด เพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นสามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจนภายในขอบเขตของระบบนั้น
         14. เป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
                นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่สามารถแสดงให้ทุกคนเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงจากระบบเก่าเป็นระบบใหม่ได้
         15. เป็นผู้เตรียมข้อมูลให้กับองค์กร
                เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบแล้วนักวิเ คราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการแข่งขันหรือการหาตลาดใหม่ขององค์กรได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์หน้าที่ต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่ งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องปฏิบติด้วยความเต็มใจและอดทนและคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบก่อนเสมอทั้งในระหว่างการพัฒนาและความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ


คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ

        1. มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เช่ นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
        2. มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาดเป็นอย่างดี
        3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี

        4. ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดต่างๆ ของระบบรวมไปถึงองค์ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาระบบ
        5. มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันอาจจะก่อให้เกิดผลเสียแก่องค์กรนั้นได้
        6. ต้องทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี เช่น ทีมพัฒนาระบบ ทีมนักวิเคราะห์ระบบ เป็นต้น
        7. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่มเพื่อคอยอำนวยความสะดวกและเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อการพัฒนาระบบ
        8. สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ด้วยตนเอง
        9. มีความสามารถสู งในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและตรงกัน
       10. มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
       11. สามารถทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีปัญหาเกิดขึ้นจากบุคคลต่างๆมากมาย

       12. เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลมาอย่างละเอียดถูกต้องและสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ใช้ระบบได้

นักวิเคราะห์ระบบคือใคร


นักวิเคราะห์ระบบคือใคร

         นักวิเคราะห์ระบบ คือ ผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของระบบ (System Owners) ผู้ใช้ระบบ (System Users) และผู้สร้างระบบ (System Builders) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรขึ้นมา ทั้งนี้หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วิเคราะห์ระบบ และ ออกแบบระบบ
             1.1.1 วิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
                      ศึกษา วิเคราะห์ และแยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขตามความต้องการของผู้ใช้งานและความเหมาะสมต่อสถานะทางการเงินขององค์กร
             1.1.2 ออกแบบระบบ (System Design)
                      ออกแบบ และกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคโดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาที่ได้ทำการวิเคราะห์มาแล้ว

         ปัจจุบันนี้ในโลกธุรกิจมีอัตราการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ (The Modem System Analyst) นอกจากจะเป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรแล้วยังจะต้องสามารถช่วยแก้ปัญหาทางกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กรนั้นได้ด้วย กล่าวคือจะต้องมีความชำนาญในการกำหนดของเขต แยกแยะปัญหาทางธุรกิจ และระบุถึงความต้องการของระบบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสารสนเทศต่อไป