สรุป
นักวิเคราะห์ระบบ( System Analyst ) เป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างบทบาทสารสนเทศกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของระบบ (System Owners) ผู้ใช้ระบบ (System User) และผู้สร้างระบบ (System Builders) โดยมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ 1) วิเคราะห์ระบบ ( System Analyst ) เป็นการศึกษาระบบวิเคราะห์ และแยกแยะถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขตามความต้องการของผู้ใช้งานและความเหมาะสมต่อสถานะทางการเงินขององค์กร 2) ออกแบบระบบ (System Design) เป็นวิธีการออกแบบ และกาหนดคุณสมบัติทางเทคนิคโดยนาระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาที่ได้ทาการวิเคราะห์มาแล้ว นอกจากจะเป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กรแล้ว นักวิเคราะห์ระบบยังจะต้องสามารถช่วยแก้ปัญหาทางกระบวนการดาเนินงานทางธุรกิจขององค์กรนั้นได้ด้วย กล่าวคือจะต้องมีความชานาญในการกาหนดขอบเขต แยกแยะปัญหาทางธุรกิจ และระบุถึงความต้องการของระบบเพื่อนาไปสู่การพัฒนาระบบสารสนเทศ หน้าที่อื่นๆ ของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ในการพัฒนาระบบนอกเหนือจากหน้าที่หลัก ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล จัดทาเอกสาร จัดทาพจนานุกรมข้อมูล ออกแบบระบบ สร้างแบบจาลอง ทดสอบโปรแกรม ติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบ จัดทาคู่มือใช้งานโปรแกรม จัดทาแบบสอบถาม บารุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ เป็นผู้ให้คาปรึกษาและเป็นผู้ประสานงาน เป็นต้น ส่วนคุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่มีหลายประการได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความชานาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ การเงิน และการตลาดเป็นอย่างดี ต้องเป็นนักสารวจ มีจรรยาบรรณต่อองค์กร สามารถทางานเป็นทีมงานได้เป็นอย่างดี มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการนาเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร ทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ สามารถทางานภายใต้ภาวะความกดดัน และเป็นนักจิตวิทยาเบื้องต้นได้นักวิเคราะห์ระบบพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยการเลือกใช้แนวทางปฏิบัติ (Methodologies) ที่มีอยู่มากมายเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาในวงจรการพัฒนาระบบ(System Develovment Life Cycle: SDLC) ให้เหมาะกับระยะเวลาและต้นทุนที่กาหนดไว้จากโครงสร้างขององค์กรแบบดั้งเดิมนั้น นักวิเคราะห์ระบบถูกจัดให้ทางานประจาอยู่ในทีมงานสารสนเทศแต่ละด้าน โดยการทางานของแต่ละทีมจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer: CIO) เท่านั้น ทาให้ไม่สามารถทางานใกล้ชิดกับผู้ใช้ระบบในส่วนงานอื่น ๆ ได้ แตกต่างจากองค์กรสมัยใหม่ ที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของหน่วยบริการสารสนเทศ ให้นักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ กระจายอยู่ในส่วนงานอื่นๆ ของทั้งหมดองค์กรทาให้สามารถทางานใกล้ชิดกับผู้ใช้ระบบมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และป้องกันการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการพัฒนาระบบใหม่อีกด้วย
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนักวิเคราะห์ระบบสมัยใหม่ต้องมีการปรับปรุงตัวอยู่ตลอดเวลา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ External Third Party และการพัฒนาการขององค์กร โดยที่ External Third Party คือ กลุ่มองค์กรที่ดาเนินธุรกิจรับพัฒนาระบบ ยกตัวอย่างเช่น แหล่งข้อมูลภายนอก (Outsoucing)ที่ปรึกษา(Consulting)และผู้จัดเตรียมโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแก้ปัญหา (Application Software Solution Providers) เป็นต้น ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการขององค์กร ได้แก่ กลยุทธ์การบริหารคุณภาพรวม (Total Quality Management: TQM) BPR (Business Process Redesign) CPI (Continuous Process Improvement) และ ISO (International Standard Organization) สาหรับผู้อ่านที่สนใจในอาชีพนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีการเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ต้องมีการเตรียมความรู้ทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศ มีประสบการณ์และความชานาญในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความรู้ทั่วไปในด้านธุรกิจ มีทักษะในการแก้ปัญหา มีมนุษย์สัมพันธ์และทักษะในการติดต่อในการติดต่อสื่อสาร รู้จักยืดหยุ่นและปรับตัวได้ มีจริยธรรม มีทักษะในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ และเมื่อมองถึงโอกาสในอาชีพนักวิเคราะห์ระบบแล้วสามารถก้าวขึ้นไปสู่ตาแหน่งผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ได้หากนักวิเคราะห์ระบบสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์และพัฒนาความสามารถในการทางานอย่างเสมอ